วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนศัพท์จากรากศัพท์

นำเรื่อง


คำในภาษาอังกฤษนั้นอยู่กันเป็นครอบครัวเป็นตระกูล(family) มี "ตระกูล" ของคำมากมายและน่าสน
ใจอย่างยิ่ง แต่ละ "ตระกูล" มี "รากศัพท์" เป็นตัวสืบทอดแตกขยายเป็นลูกหลานคำในตระกูลขึ้นมา
แต่ก่อนจะเปิดอ่านด้านใน ขอเวลาสักครู่
เราจะดูกันก่อนว่า "ราศัพท์" คืออะไรกันแน่ และสามารถแตกหน่อไปอย่างไรบ้างโดยอนุมานเอา
ว่าเรารู้จักศัพท์ที่ยกมาประกอบตัวอย่างกันแล้ว
เช่นเมื่อเราพบคำว่า
EXPIRE เรารู้ว่า "ex" แปลว่า out และ "pire" มาจากภาษาละติน spirare แปลว่า
to breath ดังนั้นคำนี้จึงมีความหมายว่า to breath out
METAPHOR เรารู้ว่า "meta" แปลว่า over และ "phor" มาจากภาษากรีก pherein แปลว่า
to bear ดังนั้นคำนี้จึงมีความหมายว่า to carry over
EXTRACTION เรารู้ว่า "ex" แปลว่า out และ "tract" มาจากภาษาละติน trahere
แปลว่า to draw ส่วน "tion" คือ the act เพราะฉะนั้นคำนี้ทั้งคำก็คือ the act of drawing
out
หรือ REPORTER เรารู้ว่า "re" แปลว่า back และ "port" มาจากภาษาละติน portare
แปลว่า to carry ส่วน "er" คือ one who ดังนั้นทั้งคำจึงหมายถึง one who carries
something back (ซึ่งในที่นี้ก็คือ "ข่าว" นั่นเอง)

บางทีคุณอาจบอกว่าถูกแล้ว แต่ที่อยากรู้ก็คือทำไม "spirare" มันจึงแปลว่า to breath ทำ
ไม "pherein" แปลว่า to bear ทำไม "port" แปลว่า to carry หรือทำไม "tract" ถึงได้
แปลว่า to draw ด้วยล่ะ
คำถามนี้ตอบได้ไม่ยากคือ "ไม่ทราบ ขอรับ"
คำว่า "spirare", "pherein", "port" และ "tract" อยู่ในกลุ่มที่เราเรียกกันว่า
"รากศัพท์" หรือ root ของภาษาอังกฤษ
และถ้ามีใครถามอีกว่า ที่เรียกว่า "รากศัพท์" นี่มันหมายถึงอะไรกันแน่ะ ก็ตอบได้ว่า
มันคือคำศัพท์ที่เราไม่รู้ว่า "ทำไม" มันจึงมีความหมายเช่นนั้น นั่นเอง
ตอบเหมือน "กำปั้นทุบดิน" เปี๊ยบเลย
แต่นั่นแหละคือคำตอบที่ถูก

"รากศัพท์" เป็นคำที่อยู่อย่างเป็นอิสระและมีความหมายโดยตัวมันเอง เปรียบประดุจ "อิฐ" แต่ละ
ก้อนซึ่งนอกจากจะมีความหมายในตัวเองแล้ว ยังสามารถนำมาสร้างเป็นตึกอาคารหรือสิ่งก่อสร้างได้
หลากหลายหมื่นพันชนิด "รากศัพท์" แต่ละตัวก็เช่นกัน มันสามารถแตกหน่อออกเป็นคำต่าง ๆ ได้มากมาย
ให้เราได้อาศัยเป็นสื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและสติปัญญา
จะเห็นได้ว่า "รากศัพท์" นี่น่ารักน่าค้นคว้าศึกษาทีเดียวเลยนะ ขอรับ

กำเนิดของคำ

คุณอาจสงสัยว่า "ภาษา" เกิดขึ้นได้อย่างไร นับว่าเป็นคำถามที่ยอดเยี่ยมมาก จำเป็นต้องรู้อย่างยิ่ง
แต่ทว่าเป็นคำถามที่ตอบได้ง่ายมากอีกเช่นกันคือ "เราไม่ทราบ" มันเกิดขึ้นนมนานกาเล นานเสีย
จนมนุษย์เราไม่สามารถจะเค้นเอาความลับดำมืดนี้ออกมาจากอดีตอันเลือนลางได้ มนุษย์โบราณแต่ละกลุ่ม
แต่ละชนเผ่าก็คงต้องการหา "เครื่องมือ" มาสื่อระหว่างกันให้รู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น สื่อความต้อง
การร่วมกัน สื่อความรู้สึกนึกคิดต่อกัน แล้วนานเข้าแต่ละพวกแต่ละกลุ่มก็คงเห็นตรงกันว่าจะเรียกสิ่งนั้นสิ่ง
นี้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้
แต่หากจะถามว่ามันเกิดขึ้นได้ "อย่างไร" นั้นเราไม่อาจทราบได้ มีทฤษฎีเกี่ยวกับการ "กำเนิด
ภาษา" อยู่มากมาย ล้วนแต่น่าสนใจทั้งนั้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อโต้แย้งหรือแคลงใจอยู่ และยังไม่มีทฤษฎี
ใดที่ได้รับการยอมรับว่า "ถูกต้อง" "สมบูรณ์" เลย
อย่างไรก็ตาม ในบรรดา "รากศัพท์" ทั้งหลายนั้น มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่เป็นข้อยกเว้นสำหรับกฎเกณฑ์นี้
นั่นคือเรารู้ว่า "ทำไม" มันจึงมีความหมายเช่นนั้น เราเรียกมันว่า "onomatopoeic" ซึ่งก็คือคำ
ที่เลียนเสียงธรรมชาตินั่นเอง ตัวอย่างเช่น roar ซึ่งเกิดจากความพยายามเลียนเสียงคำรามของสิง
โต คำอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ก็เกิดขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น buzz ซึ่งเลียนเสียงผึ้ง hiss
เลียนเสียงงู quack เลียนเสียงเป็ด เป็นต้น
สรุปได้ความว่ารากศัพท์ "onomatopoeic" เหล่านี้เป็นข้อยกเว้น ส่วนรากศัพท์อื่น ๆ เราไม่สา
มารถตอบได้ว่าทำไมมนุษย์จึงเลือกให้ "เสียง" นั้น ๆ มี "ความหมาย" อย่างนั้น


คำยืม

ในภาษาอังกฤษมี "คำยืม" (loan words) มาจากภาษาอื่น ๆ มากมายหลายภาษา แต่ที่โดดเด่น
มากที่สุดได้แก่ภาษาฝรั่งเศสและภาษาละติน มีเหตุการณ์สำคัญ 2 อย่างที่ทำให้ภาษาอังกฤษมีสภาพอย่างที่
เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
เหตุการณ์แรกคือในปี 1066 เป็นเหตุการณ์ที่ดูประหนึ่งว่าพระเจ้าจงใจ
จะเปลี่ยนโฉมหน้าภาษาอังกฤษไปโดยสิ้นเชิง นั่นคือดยุคแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส หรือที่รู้จักกันในนาม
"William the Conqueror" ได้ยกพลข้ามช่องแคบอังกฤษไปยึดครองอังกฤษ เขามีผู้ติดตามไปด้วย
มากมายไม่ว่าจะเป็นทหาร ขุนนาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ นับเวลาต่อมาอีกสามศตวรรษ(1066-
1200)ที่ ชาว Norman French และชาว Anglo-Saxon ต้องอยู่ร่วมกันคละเคล้ากันไปในอังกฤษทั้ง
คนและ "ลิ้น" แม้จะอย่างไม่เป็นมิตรเสียทีเดียวนัก
ขณะเดียวกันชาว Anglo-Saxon ยังยึดมั่นในภาษาในภาษาของตน ดี้อรั้นใช้มันเรื่อยไป แต่อ
ย่างไรก็ตาม ราชสำนักและหน่วยปกครองต่าง ๆ ชั้นบนอันฝรั่งเศสครอบครองอยู่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็น
ทางการ ย่อมหลีกไม่พ้นที่ถ้อยคำของฝรั่งเศสจะร่วงหล่นลงสู่ชาว Anglo-Saxon ซึ่งอยู่พื้นล่าง คำภาษา
ฝรั่งเศสจึงมีลักษณะเจาะทะลวงเข้าหาสังคมในแนว "บนลงล่าง" คำศัพท์จึงโดดเด่นและแตกต่างจากคำ
ภาษาอังกฤษอย่างเห็นได้ชัด

เพื่อเข้าใจความสำคัญของเหตุการณ์นี้ในแง่ของภาษาศาสตร์ เราจะต้องย้อนประวัติศาสตร์ไปอีก
ในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช สรุปย่อได้ความว่าเมื่อกรุงโรมเข้ายึดครองฝรั่งเศสชาวฝรั่งเศสรับ
เอาภาษาละตินมาเป็นภาษาของตนเอง ภาษาละตินเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงเพื่อให้
"ถนัดปาก" คนฝรั่งเศส เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับภาษาละตินในสเปน ปอร์ตุเกส อิตาลี ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น คำภาษาละตินที่แปลว่า "good" คือ bonus เมื่อเข้าไปอยู่ในภาษาอิตาเลียนเป็น
buono ภาษาสเปนเป็น bueno ภาษาฝรั่งเศสเป็น bon ภาษาโปร์ตุเกสเป็น bom เป็นต้น

เหตุการณ์ที่สองเกิดขึ้นในยุคที่เรียกว่า Renaissance (1500-1650) ซึ่งเป็นยุคของการฟื้นฟู
ศิลปะวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในยุโรป เป็นการค้นพบความเจริญรุ่งเรืองของยุคคลาสสิคอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงนี้
เองที่ "คำยืม" มากมายมหาศาลจากภาษาละตินทะลักเข้ามาสู่ภาษาอังกฤษโดยทางตรง อย่างไรก็ตาม
นี่ไม่ใช่การยืมคำจากภาษาละตินมาใช้เป็นครั้งแรก มีหลักฐานยืนยันว่ามีคำละตินเข้าสู่ภาษาอังกฤษตั้ง
แต่ครั้งเมื่อพวกเขาอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปแล้ว เช่นคำว่า street, mint, wine เป็นต้น "คำยืม
" จากภาษาละตินที่เข้ามามากมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคำประเภทศิลปะวิทยาการ "learned words"
และเข้ามาในภาษาอังกฤษโดยผ่านสื่อการเขียนมากกว่าการพูด

ดังนั้นเราจึงสามารถมองภาพรวม ๆ ได้ว่า ภาษาละตินที่เข้าสู่ภาษาอังกฤษนั้นมีทั้งมาโดย
ทางตรงจากภาษาละตินเลย กับผ่าน "ปาก" ภาษาฝรั่งเศสมา


เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
เจตนาของการแปลเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้เป็นหนังสือ "ใกล้มือ" ของนักแสวงหาความ
รู้ด้วยตัวเองซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทั้งอยู่ในหรือนอกสถานศึกษา โดยจัดรูปแบบตายตัวคือ
-บอกรากศัพท์ ความหมาย ที่มาและความหมาย ตามท้ายด้วยข้อความประเภท "ปกิณกะ" ที่เกี่ยว
เนื่องกับรากศัพท์นั้น ๆ รากศัพท์ที่เป็นหัวเรื่องเหล่านี้เรียงตามลำดับตัวอักษร
-คำศัพท์ใน "ตระกูล" นั้น ๆ โดยแยกพยางค์ด้วยเครื่องหมาย "-" เพื่อสะดวกในการอ่านออก
เสียง โดยมีคำอ่านเป็นภาษาไทยไว้ในวงเล็บ ติดตามด้วยความหมายเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย
โดยหวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น คำศัพท์ที่ยกมาในแต่ละ "ตระกูล" เป็นเพียงจำนวนหนึ่งยัง
เหลือให้ผู้อ่านได้ค้นพบเองอีกมาก
-ปิดท้ายด้วยประโยคตัวอย่างการใช้คำนั้น ๆ และความหมายในภาษาไทย
การเขียนคำอ่านเป็นภาษาไทยถือเป็นเรื่องยุ่งยากใจไม่สิ้นสุด ด้วยความแตกต่างของการออกเสียงคำและ
การขาดหายไปของบางเสียงในแต่ละภาษา และหาความ "พอดีที่ลงตัว" ได้ยาก จึงหวังเพียงว่ามันจะ
เป็น "แนว" ให้คนที่ยังไม่คุ้นเคยการออกเสียงคำนั้น ๆ ส่วนผู้ที่คุ้นเคยภับภาษาอังกฤษมากแล้ว อาจดู
เพียงการแยกพยางค์ก็พอจะออกเสียงได้ถูกต้อง ความหมายของคำและของประโยคตัวอย่างก็เช่นเดียวกัน
จากการจัดรูปแบบดังกล่าว ผู้อ่านสามารถเริ่มต้นอ่านที่ "รากศัพท์" ใดก่อนหลังก็ได้ จึงหวังว่าจะเป็น
หนังสือที่ให้ "ความสุข" แก่ผู้อ่านตามสมควร
ขอขอบคุณผู้มีอุปการะทุกท่านด้วยวิธีไม่เอ่ยนามตามเจตนาของท่าน(และความจำเป็น)

ไม่มีความคิดเห็น: